เว็บการเมือง-ไทย

รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย

รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย ตามระบอบการปกครองของไทยตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้

รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย

1. ประเทศไทยมีรูปแบบของรัฐเป็นแบบรัฐเดี่ยว (Unitary State) ในมาตรา ๑ กล่าวว่า ประเทศไทยมีราชอาณาจักรหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ หมายถึง

ประการแรก ประเทศไทยรวมแว่นแคว้นเข้าเป็นรัฐเดียว หมายถึงประเทศไทยมีรัฐบาลเดียว คือรัฐบาลกลาง แม้จะมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เช่น ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ก็ถือว่าแต่ละจังหวัดเป็นดินแดนแผ่นเดียวกันกับรัฐบาลกลาง

ประการที่สอง ส่วนที่ว่าเป็นราชอาณาจักรนั้น หมายความว่า เป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเคยปกครองในระบอบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทรงใช้อำนาจอธิปไตย คือ นิติบัญญัติบริหาร และตุลาการ โดยพระองค์เอง ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงขนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงในพระนาม อาทิ ในการตรากฎหมาย โดยหลักการแล้วพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงลงพระปรมาภิไธยหลังจากที่ร่างกฎหมาย ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวคือ มิใช่เป็นความรับผิดชอบขององค์พระมหากษัตริย์ แต่ในรัฐธรรมนูญก็ได้ให้พะอำนาจของพระมหากษัตริย์ ที่จะทรงยับยั้งร่างกฎหมายที่ผ่านมาความเห็นชอบรัฐสภา

ในด้านอำนาจบริหาร ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี เป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี แม่ทัพนายกองระดับนายพล ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่อธิบดีขึ้นไป ทั้งนี้โดยมีนายกรัฐมนตีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ในด้านตุลาการ ถือว่าผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาคดี ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ห้องทำการพิจารณาคดีของผู้พิพากษา เรียกว่า บัลลังก์ นอกจากนี้ทรงเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้พิพากษาและตุลาการศาลต่าง ๆ โดยมีตัวแทนสูงสุดของศาลต่างๆเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ

2. ประเทศไทยมีรูปแบบของรัฐบาลเป็นแบบรัฐสภา (Parliamentary)

คำว่า รัฐบาลเป็นแบบรัฐสภา หมายความว่า รัฐบาลประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งคน และรัฐมนตรีอีกจำนวนหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ประกอบด้วยเป็นองค์คณะเพื่อบริหารราชการของประเทศ ซึ่งเรียกรวมว่าคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเสนอชื่อบุคคลขึ้นเป็นรัฐมนตรี ตามจำนวมที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อทำหน้าที่เป็นรัฐบาลร่วมในการบริหารประเทศต่อไป หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีแล้ว ก็ยังสามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อไปได้เช่นเดิม ตามรูปแบบของรัฐบาลแบบรัฐสภา

หลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

การเมืองการปกครองของไทยเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แยกพิจารณาได้ ดังนี้

รัฐสภา

รัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เมื่อมีการประชุมรวมกัน กฎหมายกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภาและให้ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา

สภาผู้แทนราษฎรใน รูปแบบการเมืองการปกครองของไทย

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำวน ๔๘๐ โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน ๔๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน ๘๐ คน รวมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้นในสภาจำนวน ๔๘๐ คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใช้วิธิการออกเสียงลงคะแนนราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศโดยตรงและลับ อายุสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ ๔ นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

๑. ส.ส แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

๑.๑ การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส ได้เท่ากับจำนวน ส.ส ที่มีได้ในเขตเลือกตั้งดังนั้นแต่ไม่เกินเขตละ ๓ คน หมายความว่า ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือก ส.ส ภายในเขตของตนได้ ตั้งแต่หนึ่งคน สองคน แต่ไม่เกินสามคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเขตเลือกตั้งของตนมี ส.ส ที่จัดไว้ให้ลงคะแนนเลือกตั้งกี่คน

๑.๒ การคำนวณ ส.ส ในเขตเลือกตั้ง

(๑) การถือเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) หนึ่งคนให้คำนวณโดยนำเอาจำนวนราษฎร ทั้งประเทศตามทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนมีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๔๐๐ คน ซึ่งปัจจุบันประชากรหรือราษฎรทั้งประเทศประมาณ ๖๓ ล้านคน เฉลี่ยจำนวนราษฎรต่อ ส.ส. หนึ่งคนจะได้ประมาณ ๑๕๗,๕๐๐ คน

(๒) จังหวัดที่มีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์เฉลี่ยตามข้อ (๑) ก็ให้จังหวัดนั้นมี ส.ส. ได้หนึ่งคน แต่ถ้าจังหวัดใดที่มีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนต่อ ส.ส. หนึ่งคนให้จังหวัดนั้นมี ส.ส. เพิ่มขึ้นอีก

(๓) จังหวัดใดมี ส.ส. ได้ไม่เกิน ๓ คน ให้ถือเอาจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าจังหวัดใดมี ส.ส. ได้เกิน ๓ คน ให้แบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ว่า เขตเลือกตั้งหนึ่งต้องมี ส.ส. หนึ่งคนเป็นอย่างน้อย แต่ไม่เกินสามคน

(๔) เมื่อได้จำนวน ส.ส. แต่ละจังหวัดตามข้อ (๑) ถึง (๓) หากรวมแล้วยังได้ไม่ครบ ๔๐๐ คน ให้จังหวัดที่มีเศษเหลือจากการคำนวณมากที่สุดมี ส.ส. เพิ่มได้อีกหนึ่งคนรวมแล้วได้ครบ ส.ส. ๔๐๐ คน

๒. ส.ส. มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน

การเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน เป็นวิธิการให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นโดยให้ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ที่มีรายชื่อผู้สมัครเลือกพรรคการเมืองนั้นได้เพียง ๑ พรรค คือ หนึ่งบัญชี ถือว่าเป็นหนี่งเสียงหรือหนึ่งคะแนน รายละเอียดการกำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนมีดังนี้

๒.๑ แบ่งพื้นที่ของประเทศทั้ง ๗๕ จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครเป็น ๗๖ จังหวัด ออกเป็นกลุ่มเรียกว่ากลุ่มจังหวัดเป็น ๘ กลุ่ม กลุ่มจังหวัด และให้กลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส.ได้จำนวน ๑๐ คน รวมทั้งประเทศ กลุ่มจังหวัดเป็น ส.ส. จำนวน ๘๐ คน

๒.๒ การจัดกลุ่มจังหวัดให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยให้แต่ละกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมแล้วใกล้เคียงกัน โดยให้จังหวัดทั้งจังหวัดอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน

๒.๓ บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งต้องมีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครบ ๑๐ คน เรียงตามหายเลขลำดับความสำคัญตามรายชื่อ หมายความว่าพรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครบ ๑๐ คน เรียงตามลำดับความสำคัญของผู้สมัครตามรายชื่อหนึ่งถึงสิบ

๒.๔ รายชื่อผู้สมัคร ในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

๒.๕ บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสม และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย คือรายชื่อในบัญชีต้องมีหญิงเป็นผู้สมัครร่วมด้วย เว้นแต่ไม่สมารถหาได้

๒.๖ การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามบัญชีราชื่อแต่ละพรรคการเมืองในแต่ละเขตเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้ในแต่ละเขตเลือกตั้งนั้นมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ที่พึงจะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้ เรียงตามลำดับหมายเลขบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้น ๆ

– คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หมายถึงคุณสมบัติของราษฎรหรือประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้

(๑) มีสัญชาติไทย แต่ละบุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการเปลี่ยนแปลงสัญชาติไทยมาแล้วน้อยกว่า ๕ ปี

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ

(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

– บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง หากมีลักษณะดังนี้

(๑) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช

(๒) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(๔) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

– คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชอกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (บุคคลผู้แปลงสัญชาติไม่มีสิทธิสมัคร)

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

(๓) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง หนึ่งเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๙๐ วันนับถือวันเลือกตั้ง เว้นแต่แต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชอกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวกันไม่น้อยกว่า ๓๐ วันนับถึงวันเลือกตั้ง

(๔) ผู้สมัครับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะ

(๕) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง

(๖) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

– หน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส)

หน้าที่ของสส

(๑) เป็นผู้แทนของปวงชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งงอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ

(๒) ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ตรากฎหมายออกใช้บังคับ

(๓) รับเรื่องราวร้องทุกข์ รับฟังความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อนำเสนอรัฐบาลโดยผ่านสภาผู้แทนราษฎร

(๔) ควบคุม ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล พร้อมให้ข้อเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎร

-วุฒิสภา-

วุฒิสภา คือ สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง มีสมาชิกวุฒิสภาช่วยทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายร่วมกันกับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาเป็นสภาหนึ่งของรัฐสภา บางครั้งอาจเรียกว่าสภาสูงก็ได้ สมาชิกวุฒิสภาเรียกว่า ส.ว.

๑. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

๑.๑ การใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มีสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละ ๑ คน โดยให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ๑ คน ด้วยวิธีลงคะแนนโดยตรงลับ

๑.๒ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา สามารถหาเสียงได้แต่เฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา

๒. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

๒.๑ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาล รัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจการแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ๑ คน และตุบาการในศาลปกครองสูงสุด ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๗ คน เป็นคณะกรรมการสรรหา

๒.๒ คณะกรรมสรรหาทำหน้าที่

(๑) สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ

(๒) การสรรหาต้องคำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ

-รัฐบาล-

คณะรัฐบาลของประเทศประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๓๕ คน รวมเรียกว่าคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม) เฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศหรือเรียกว่าฝ่ายบริหาร

การเสนอชื่อ ส.ส เป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกผู้แทนราษฎร รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง มติของสภาผู้แทนราษฎรที่ให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกง่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ อาจนำมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือบุคคลที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน

ลักษณะการปกครองของไทย แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้

๑. การปกคอรงส่วนกลาง

๒. การปกครองส่วนภูมิภาค

๓. การปกครองส่วนท้องถิ่น

-ศาล-

ศาลเป็นองค์กรพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยองพระมหากษัตริย์ นั่นคือพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทรงศาล มีรายละเอียดดังนี้

๑. ศาลรัฐธรรมนูญ

๒. ศาลยุติธรรม

๓. ศาลปกครอง

๔. ศาลทหาร

บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย

พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่ชาติ มาตั้งแต่ไทยสร้างชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา ฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกของประชาชนคนไทยทุกคนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี บทบาทของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัย

ในปัจจุบันองค์พระประมุขของประเทศไทย คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ทรงเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์เป็นที่รักและเทิดทูนของประชาชนอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายล้วนแต่เป็นประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทย ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามว่าพระภัทรมหาราช

– การใช้อำนาจนิติบัญญัติ

พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา โดยจะเป็นผู้ลงพระปรมาภิไธยและเมื่อประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ถ้าร่างพระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น ๙๐ วัน แล้วมิได้พระราชทานคืน คืน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตาม เดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน ๓๐ วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมาย เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

– การใช้อำนาจบริหาร

พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารประเทศผ่านทางคณะรัฐมนตรี โดยทรงได้ซึ่งอำนาจไว้การให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ นอกจากนี้ยังทรงไว้ในพระราชอำนาจดังนี้

๑. ทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับได้

๒. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา

๓. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก

๔. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

๕. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสันติภาพ สัญญาสงบศึกกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ

๖. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ

๗. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

– การใช้อำนาจตุลาการ

พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล โดยจะแสดงแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการเข้าทำหน้าที่ในนามของพระมหากษัตริย์ และก่อนผู้พิพากษาหรือตุลาการเข้ารับตำแหน่งจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม

สำหรับประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น ได้มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ดังนี้

๑. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของประเทศ

๒. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์ละศูนย์รวมของโครงสร้าง

หน้าที่ของศาลที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ มีด้วยกัน ๔ ศาล ได้แก่

(๑) ศาลรัฐธรรมนูญ (๒) ศาลยุติธรรม (๓) ศาลปกครอง (๔) ศาลทหาร

ติดตามเพิ่มเติม: ประวัติสุทิน คลังแสง

ติดตามข่าวการเมืองเพิ่มเติมได้ที่ :: ข่าวการเมืองล่าสุด